top of page

[TIPS]  เทคนิคการถ่ายภาพแบบแพนนิ่ง...ซิ่งมาดิค้าบบบ

January 20 , 2019

 : Hyper pixel

  • Facebook
  • YouTube
File10395.JPG

“วัตถุที่ถ่ายดูคมชัด แต่ส่วนอื่นๆของภาพดูเหมือนกำลังเคลื่อนไหว” มาจากเทคนิคที่เรียกว่า แพนนิ่ง (Panning Photography) คือการถ่ายภาพแบบหันกล้องตามวัตถุที่เคลื่อนที่ วัตถุกำลังเคลื่อนที่ไปทางไหน เราก็หันกล้องถ่ายตามไป ทำยังไงถึงจะได้ภาพเคลื่อนที่สวยๆ ดูดี มาดูวิธีกันครับ

Speed Shutter ต้องช้ากว่าความเร็ววัตถุ

หลายคนอาจจะเข้าใจผิดว่าถ้าอยากได้ภาพความเร็วสูงๆ ต้องใช้สปีดชัตเตอร์สูงๆ เราไม่สามารถกำหนดได้นะครับว่าจะต้องตั้งค่าความเร็วที่เท่าไหร่ เพราะการเคลื่อนที่ของแต่ละวัตถุมีความเร็วไม่เท่ากัน หลักการถ่ายคือ 

Screen Shot 2566-01-26 at 14.27.20.png
Screen Shot 2566-01-26 at 14.27.44.png

ถ่ายก่อนวัตถุเคลื่อนที่มายังตรงกลาง

ยกตัวอย่างเช่น การถ่ายภาพรถยนต์ที่กำลังเคลื่อนที่ไปทางซ้าย ให้ได้ภาพแพนนิ่งที่รถจะอยู่ในตำแหน่งตรงกลางภาพ จะต้องกดชัตเตอร์เริ่มถ่ายตั้งแต่รถเคลื่อนจากตำแหน่งขวามือ ถ่ายตามกระทั่งรถได้เคลื่อนไปจนถึงตำแหน่งซ้ายมือ จึงหยุดบันทึกภาพ

คุ้นเคยกับความเร็ว

คุ้นเคยกับความเร็ว เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องฝึกฝน ขณะที่เราหันกล้องไปตามวัตถุ สิ่งที่เกิดขึ้นมักจะได้ภาพที่ไม่ชัดมากเท่าที่ควร เนื่องจาก เราอาจจะเคลื่อนที่เร็วหรือช้ากว่าวัตถุ จึงจะต้องหาจังหวะสวิงดีๆเพื่อให้ได้ภาพที่คมชัด

ตั้งค่า

ใช้โหมด Shutter Priority (หรือโหมด S)

 

ปรับ ISO ระหว่าง 100-200

Speed Shuutter น้อยลงสักนิด ประมาณ 1/60 sec. 30 หรือ 15 ตามความเหมาะสมด้วยปัจจัยของแสงภายนอก

F เหลือประมาณ 8-11

การตั้งค่าแบบนี้ข้อดีคือ โฟกัสอย่างไรก็จะชัด

Screen Shot 2566-01-26 at 14.47.16.png
Screen Shot 2566-01-26 at 16.47.24.png

จากนั้น นำกล้องไปวัดแสงกับมุมที่จะถ่าย แล้วโฟกัสไปยังถนนตรงที่รถกำลังวิ่ง ค่อยๆลองปรับการตั้งค่าให้อยู่ในระหว่างช่วงที่แนะนำข้างต้น เพื่อให้ได้ภาพที่ดีที่สุด จากนั้นไปลองใช้กันเลยครับ ค่อยๆฝึก

_DSF7768.jpg
_DSF7704.jpg
_DSF7760.jpg

ภาพแนวนี้เราต้องเล่นกับความเร็วชัตเตอร์เป็นหลัก ธรรมดาคนเราเวลาอยากจะถ่ายภาพเคลื่อนไหวหรือภาพแอคชั่น เรามักจะตั้งความเร็วชัตเตอร์ไว้ให้เร็วๆ ถึงระดับ 1/1000 วินาทีขึ้นไป เพื่อจับภาพให้ทันแบบภาพข้างล่างนี้ 

_DSF7731.jpg

อุปกรณ์

  1. กล้อง บอกลากล้องฟิล์มไปเลยครับเพราะงานนี้เน้นรัว ไม่คุ้มค่าฟิล์มแน่ๆ ให้เราเลือกเป็นกล้องดิจิตัลอะไรก็ได้ที่ปรับค่าชัตเตอร์สปีด รูรับแสง และISOได้ แต่หากเป็นกล้องชนิด compact ควรดูด้วยว่ากล้องของเราสามารถปรับค่ารูรับแสง(F)ได้แคบสุดเท่าไร ถ้าค่ารูรับแสง(F)แคบสุดอยู่ที่ค่าประมาณ 11 อาจจะมีปัญหาเวลาถ่ายกลางแดดได้เพราะรูรับแสงแคบไม่พอที่จะลดปริมาณแสงที่เข้ามาในภาพ 

  2. เลนส์ แนะนำให้ใช้เป็นเลนส์เทเลซูม ระยะเทียบเท่าซักประมาณ 50–200mm น่าจะกำลังดีเลย สะดวกดีไม่ต้องวิ่งเข้าวิ่งออก แต่เลนส์ไพรม์อย่าง 35mm หรือ 50mm ก็ใช่ว่าจะใช้ถ่ายไม่ได้นะ ใช้ได้เหมือนกันครับ แต่อาจจะสะดวกน้อยกว่า ภาพในบทความนี้ก็มาจากเลนส์ไพรม์ทั้งนั้น

  3. แฟลช หากมีก็ดี ไม่มีก็ไม่เป็นไร โอกาสได้ใช้จริงๆมีน้อย แต่ถ้ามีแฟลชก็จะสามารถใช้โหมด rear sync ที่จะช่วยให้ถ่ายภาพแนวนี้ได้ง่ายขึ้น

  4. ขาตั้งmonopod หรือขาตั้งกล้องแบบขาเดียว ถ้ามีมาด้วยก็จะช่วยทำให้เราแพนกล้องได้ดีขึ้น นิ่งขึ้น

  5. ND filter ฟิลเตอร์หน้าเลนส์ที่ช่วยลดปริมาณแสงส่วนเกิน เหมาะกับผู้ที่คิดจะใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำมากๆในสภาวะแสงแรงๆ

อีกหนึ่งตัวอย่าง ภาพมอเตอร์ไซค์กำลังวิ่งอยู่ ภาพกลับออกมาแข็งโป๊ก ดูไม่มีชีวิตชีวาเลย ความเร็วชัตเตอร์สูงๆมันไม่คูล ฉะนั้นเราต้องเปลี่ยนวิธีการถ่ายใหม่ครับ

ตั้งชัตเตอร์สปีดให้ช้าๆ ระดับ 1/40, 1/30, 1/25, 1/20, 1/15, 1/13, 1/10, 1/8 วินาทีเลย เอาตามที่ตัวเองอยากจะได้เลยครับ ชัตเตอร์สปีดช้าๆจะทำให้ภาพดูมีความเคลื่อนไหว ให้พึงระลึกไว้เสมอนะว่ายิ่งความเร็วชัตเตอร์ช้าเท่าไหร่ ความเคลื่อนไหวที่เห็นในภาพก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น สำหรับผู้เริ่มต้นเราขอแนะนำให้ใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ประมาณ 1/30–1/40 วินาทีดูก่อน เมื่อเก่งแล้วค่อยลดความเร็วชัตเตอร์ลงอีกตามความพึงพอใจ

_DSF7661.jpg

ย้ำอีกครั้งครับ ทั้งนี้ค่าความเร็วชัตเตอร์ควรจะขึ้นอยู่กับความเร็ววัตถุที่เราจะถ่ายด้วย ถ้าสิ่งที่เราจะถ่ายเคลื่อนที่เร็วมากๆอย่างรถแข่ง หรือเครื่องบินที่กำลังเทคออฟ เราอาจจะใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่เร็วขึ้นมาหน่อย เพื่อเพิ่มโอกาสในการได้ภาพให้มากขึ้น แต่ถ้าสิ่งที่เราจะถ่ายเคลื่อนที่ช้าๆ อย่างเช่นคนกำลังวิ่งจ๊อกกิ้ง เราอาจจะใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ช้าลงมา เพื่อให้สิ่งอื่นๆนอกเหนือจากตัวแบบดูมีความเคลื่อนไหวมากขึ้น ค่า ISO ปรับไว้ที่ 100 ดีสุดครับ ความเร็วชัตเตอร์ช้าระดับนี้มีแสงให้กินเหลือเฟือ ไปห่วงเรื่องแสงจ้าเกินไปดีกว่า ถ้าถ่ายกลางคืนแสงน้อยๆค่อยปรับชดเชยขึ้นมา ค่ารูรับแสง(F)ในโหมดSไม่ต้องไปสนใจมันมากเพราะมันจะทำหน้าที่ของมันเองโดยอัตโนมัติครับ

DSCF0499.JPG
IMG_3746.jpg

หากแพนกล้องได้ไม่ดี ภาพก็ออกมาพัง หากแพนกล้องได้ดี วัตถุที่ถ่ายก็จะออกมาคมชัด ส่วนวิธีการตามด้านล่างนี้ครับเวลาถ่ายให้กลั้นหายใจนิดนึงเพื่อลดการเคลื่อนไหวของกล้องในแนวตั้ง อย่ามัวแต่เสียเวลากดชัตเตอร์ครึ่งนึงเพื่อออโต้โฟกัสนะ เดี๋ยวไม่ทัน ให้เรากดชัตเตอร์ลงไปเลย แล้วแพนกล้องนิ่มๆตามสิ่งที่เราจะถ่าย ถ้าสิ่งที่เราจะถ่ายวิ่งไปทางซ้าย เราก็แพนกล้องตามไปทางซ้าย ถ้าสิ่งที่เราจะถ่ายวิ่งไปทางขวา เราก็แพนกล้องตามไปทางขวา

เวลาเราแพนกล้อง พอถ่ายเสร็จให้แพนต่อไปเรื่อยๆอีกนิดนึงเพื่อความชัวร์ว่าภาพของเราจะออกมาSmoothนะครับ เพราะถ้าเราแพนแค่นิดเดียวมันมีโอกาสที่จะทำให้ภาพเราตะกุกตะกัก และวัตถุออกมาเบลอไม่สวยงามเราจะหวังผลกับภาพที่ออกมาได้มากขึ้น ถ้าเราแพนกล้องได้ตรงกับความเร็วในการเคลื่อนที่ของวัตถุพอดี

เป็นเทคนิคที่พูดเหมือนง่ายแต่ต้องอาศัยทักษะค่อยๆฝึกครับ แล้วจะมันง่ายขึ้น แต่โดยทั่วไปถ้าเราตั้งจุดโฟกัสไว้ตรงกลาง มันจะมีกรอบหรือเครื่องหมายจุดๆอะไรสักอย่างขึ้นมาตรงกลางจอหรือช่องมองภาพ เราแนะนำให้ใช้กรอบหรือจุดนั้นเป็นตัวช่วยในการแพนกล้องครับ หลักๆก็คือ ตลอดระยะเวลาตั้งแต่เรากดชัตเตอร์ แพนกล้อง จนกระทั่งเราถ่ายเสร็จ เราต้องพยายามอย่าให้สิ่งที่เราถ่ายมันหลุดออกนอกกรอบหรือจุดตรงกลางครับเนี่ยดูตัวอย่างภาพข้างล่างนะ พอเราตั้งจุดโฟกัสไว้ตรงกลาง มันจะขึ้นกรอบมาให้ตรงกลางด้วย ให้ใช้กรอบเป็นเหมือนศูนย์ยิงเวลายิงปืนครับ แพนตามวัตถุอย่าให้หลุดแล้วก็ยิงชัตเตอร์รัวๆ มันต้องได้ดีๆสักภาพแน่นอนครับ

  • Facebook
  • YouTube
Rate Us
รีวิวกล้อง
รีวิวมือถืิอ
สอนถ่ายภาพ
bottom of page