top of page

[TIPS]  เทคนิคการถ่ายภาพพลุ

January 20 , 2019

 : Hyper pixel

  • Facebook
  • YouTube
ดอกไม้ไฟ

การถ่ายภาพพลุให้ออกมาสวย ไม่ยากถ้าเราเข้าใจวิธีการ ต้องมีความรู้ในสองสามองค์ประกอบ ได้แก่

1. เลือกสถานที่

หาโลเคชั่นในการถ่ายภาพพลุ ไม่ควรจะใกล้จนเกินไป เพราะพลุค่อนข้างสูงและใหญ่มากๆ เมื่อเราใช้เลนส์ธรรมดาถ่าย จะได้พลุที่ขาดแหว่งไม่สวยงาม

2. อุปกรณ์

หนึ่งเลย ต้องมีกล้องถ่ายภาพดิจิตอล ภาพพลุที่ได้จะออกมาเป็นหยิกๆเส้นๆคล้ายหนอน ไม่ค่อยสวยเท่าไหร่ ก็จะต้องมีอุปกรณ์์เสริม คือสายลั่นชัตเตอร์แบบแมนวล หรือจะใช้ รีโมทคอนโทรล

3. เลนส์

ขาดไม่ได้เลย ก็ต้องดูว่าตำแหน่งที่เราอยู่นั้นอยู่ไกลจากพลุมากแค่ไหน ค่อนข้างใกล้ใช้เลนส์ไวด์ อยู่ใกล้ใช้นอร์มอลหรือเทเลก็ยังได้ครับ 

4. ประสบการณ์

ประสบการณ์ของการดูพลุ ใครที่ไม่เคยดูพลุ ดูรวมๆก็จะรูู้สึกว่า เอ๊ะ ทำไมเค้าถ่ายรูปมามันดูเป็นเส้นสาย คล้ายๆต้นตาล ดูสวยงาม แต่จริงๆแล้วพลุไม่ได้ระเบิดออกมาแบบนั้นนะครับ จะระเบิดเป็นเม็ดๆกระจายออกไปเป็นสีๆ หลักการถ่ายภาพ คุณจะต้องกดชัตเตอร์ตอนที่คุณเริ่มได้ยินเสียงพลุดังขึ้น ปกติพลุจะอยู่ที่พื้นดิน แล้วขึ้นไประเบิดกลางอากาศ จำเป็นจะต้องเข้าใจลักษณะของพลุ จะต้องกดชัตเตอร์นานตั้งแต่ต้นจนจบ ไม่อย่างนั้นเราจะได้แค่สิ่งใดสิ่งหนึ่งมาไม่ครบถ้วนนั่นเองครับ

Setting กล้อง

ไม่ยากเลยครับ คุณสามารถตั้งค่าตามที่ผมบอกได้เลย

1. Shutter B / Bulb หมุนไปที่โหมด B ได้เลย หรือถ้าไม่มี ต้องเข้าไปที่โหมด M หรือแมนนวล เลือกสปีดชัตเตอร์ที่ 30" เลื่อนอีกครั้งจะเจอตัวหนังสือว่า Bulb พอเลือกสปีดชัตเตอร์ Bulb และคุณมีสายลั่นชัตเตอร์ ก็ไปที่ข้อต่อไปครับ

Screenshot 2566-03-27 at 14.16.46.png
Screenshot 2566-03-27 at 14.16.24.png

2. f stop ปรับรูรับแสงให้แคบ ถึงแม้จะเป็นการถ่ายภาพตอนกลางคืน แต่ดินประสิวจะมีความสว่างค่อนข้างสูงมาก เพราะฉะนั้น f stop ของพลุจะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ

รูปแบบที่ 1 คือ พลุที่มีสีเข้ม ได้แก่ สีแดง สีน้ำเงินเข้ม จะนิยมปรับ f = 11 

ในขณะเดียวกัน รูปแบบที่ 2 เช่า พลุสีขาว สีเหลืองทอง สีเขียว จะปรับ f แคบลงมาหน่อยอยู่ที่ f= 13-14 ครับ

3. ISO / ความไวแสง ใช้สัก 100 - 200 ก็เพียงพอแล้วครับ รูปพลุที่ได้ก็จะไม่คอยมีนอยส์ เพราะเราใช้ ISO ต่ำ

หลังจากตั้งค่าเสร็จ วางกล้องบนขาตั้งกล้อง เสียบสายลั่นชัตเตอร์ สิ่งหนึ่งที่สำคัญ และต้องไม่พลาดเลยคือข้อต่อไปนี้ครับ

4. ปิด Noise reduction เพราะถ้ายังเปิดเอาไว้ กับการถ่ายภาพตอนกลางคืน และเวลาถ่ายหลายๆวินาที จะเกิดนอยส์ เมื่อเกิดนอยส์ กล้องจะทำการprocessเพื่อลดนอยส์ในขณะที่เราถ่าย ซึ่งมันใช้เวลาพอสมควร ทำให้ไม่สามารถที่จะถ่ายช็อตต่อไปได้ทันทีครับ

พอปิดแล้ว ก็เริ่มถ่ายกันครับ พอฟ้าเริ่มมืด เริ่มตั้งกล้องโฟกัสไปยังบริเวณจุดที่คุณคาดว่าพลุจะเกิดขึ้น แน่นอนครับ ว่าอาจจะไม่ตรง รอจังหวะลูกแรก ขึ้นมาปั๊บ ให้คุณตั้งออโต้โฟกัสไปยังพลุ หลังจากนั้นให้ปลดเป็นแมนวลทันที พอพลุขึ้นมาแล้ว ปุ่มเป็นแมนวลโฟกัสแล้ว จากนั้นก็ถ่ายตามไปเรื่อยๆ พลุที่เข้มหรือสีอ่อนก็ต้องปรับf stop ให้ตรง

พอเมื่อเราได้ภาพพลุแล้ว สิ่งที่เราจะต้องทำต่อมาคือ การจับจังหวะพลุให้เข้ากับตัวภาพ จะวางองค์ประกอบให้อยู่กึ่งกลางก็ได้ หรือจุดตัดเก้าช่องก็ได้ครับ

บางทีก็จะเจอปัญหาว่าระหว่างถ่ายพลุอยู่นั้น หลายๆคนก็จะใจร้อนรีบซูมภาพ เพื่อที่จะถ่ายพลุขนาดเล็ก แต่ทันใดนั้นก็จะมีพลุลูกใหญ่ๆราคาแพง ก็จะยิงแทรกมาเป็นระยะๆ ก็จะทำให้คุณซูมภาพไปถ่ายด้วยกัน ทำให้ภาพมันขาด 

Screenshot 2566-03-28 at 13.43.55.png
Screenshot 2566-03-28 at 13.51.47.png

ข้อควรระวัง 

1. ขาตั้งกล้องที่มั่นคง เพราะอาจจะโดนลมกระชากแรงๆ หรือทำให้กล้องเราสั่นไหวขณะที่กำลังถ่าย พันสายคล้องคอเก็บเอาไว้ให้ดี ก็จะช่วยให้กล้องนิ่งขึ้น

2. อย่าขยับกล้องไป-มา ถ้าพลุขึ้นมาทางซ้ายหรือขวา ไม่ต้องตื่นเต้นครับ ค่อยไปครอปอีกที เพราะการขยับกล้องไปมา บิดไปบิดมา อาจจะทำให้ภาพพลุสั่นครับ

3. อย่าลืมปิด Noise reduction เป็นข้อที่ต้องย้ำอีกครั้ง เพราะถ้าเปิดทิ้งไว้ กล้องก็จะประมวลผล ทำให้ช้า กว่าจะได้ถ่ายช็อตต่อไปก็ต้องรอประมวลผลให้เสร็จ ทำให้คุณเสียโอกาสครับ

4. สถานที่และทิศทางลม นอกจากจะได้วิวที่ดีแล้ว สิ่งหนึ่งที่คุณจะต้องเช็คก็คือ ลมพัดไปทางไหน ถ้าลมพัดมาทางที่คุณยืน นั่นหมายความว่า เมื่อจุดพลุ จะมีควัน ควันนั้นจะปลิวมาตามลมทำให้บดบังตัวพลุและอาจจะทำให้เราสำลักควันได้อีกต่างหาก อันตรายมากๆ 

การถ่ายพลุก็ต้องมีข้อที่ต้องเรียนรู้และข้อระมัดระวังพอสมควรเพื่อให้ได้ภาพพลุสวยๆ ต้องลองไปถ่ายดูครับ แล้วก็ถ่ายพลุครั้งต่อๆไปของคุณจะง่ายขึ้น

  • Facebook
  • YouTube
Rate Us
bottom of page